HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ปราสาทหินพิมาย
 

ปราสาทหินพิมาย

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว :   More@รวมVDO 

ปราสาทหินพิมาย อลังการปราสาทหินใหญ่ที่สุดของเมืองไทย อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เป็นเวลาเกือบหนึ่งพันปีแล้วที่ปราสาทหินพิมายแห่งนี้ได้รับการสร้างขึ้นอย่างวิจิตรและยิ่งใหญ่โดยชุมชนโบราณที่เชื่อว่ามีการติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรขอมในสมัยนั้น ปราสาทหินพิมาย เป็นศูนย์กลางของเมืองพิมาย ตั้งอยู่บนชัยภูมิที่มีความอุดมสมบูรณ์และเป็นศูนย์กลางคมนาคมในพื้นที่ลุ่มแน่น้ำมูน ปราสาทหินพิมายถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากความอลังการของตัวปราสาทหินพิมายแล้ว ภาพจำหลักบนทับหลังและหน้าบันยังงดงามน่าชมและมีเรื่องราวให้ติดตามอย่างจุใจ

เรื่องราวส่วนใหญ่ที่ปรากฏบนทับหลังและหน้าบันของปราสาทหินพิมายนั้นเป็นเรื่อราว รามายณะ และคติความเชื่อในศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ เช่น ที่หน้าบันด้านทิศใต้หรือด้านหน้าก่อนเดินเข้าองค์ปรางค์เป็นภาพศิวนาฎราชหรือพระศิวะฟ้อนรำ 108 ท่า แต่เมื่อเข้าสู่ชั้นในของปรางค์ประธานก็จะพบทับหลังเหนือประตูทางเข้าทั้งสี่ทิศเป็นภาพพุทธประวัติ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา นี่จึงเป็นอีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ของปราสาทหินพิมาย หลังจากเดินทางเที่ยวชมที่ปราสาทหินพิมายแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวที่ ไทรงาม ชมความงดงามของต้นไทรใหญ่ที่ขึ้นเป็นดงกว้างหนาแน่นอยู่ริมแม่น้ำมูน แผ่กิ่งก้านรากห้อยย้อยสวยงามนอกจากนี้แล้วอาหารที่ไม่ควรพลาดชิมก่อนกลับอย่างหมี่โคราชรสชาติดี สำเนียงโคราชเรียกว่า ขั่วหมี่ ผลิตจากข้าวเจ้าพันธุ์ดี เส้นบางผัดแล้วเส้นจะนุ่มเหนียวไม่เละ นิยมกินกับส้มตำโคราช ที่นี่มีเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน เป็นสินค้าขึ้นชื่อของโคราช มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามร้านค้าที่ตั้งเรียงรายสองฟากถนนและมีบางร้านเปิดให้ชมกระบวนการอีกด้วย

 

ปราสาทหินพิมาย

ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอม ที่ใหญ่โต และงดงามอลังการนั่นคือ
“ปราสาทหินพิมาย”แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ“พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปรากฏในจารึกภาษาเขมรบนแผ่นหินตรงกรอบประตู ระเบียงคด ด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย และยังปรากฏชื่อในจารึกอื่นอีกหลายแห่ง อาจจะเป็นคำที่ใช้เรียกรูป เคารพหรือศาสนาสถานสิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของปราสาทหินพิมาย คือ ปราสาทหินแห่งนี้สร้างหันหน้าไปทาง ทิศใต้ต่างจาก ปราสาทหินอื่นที่มักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจาก เมืองยโศธรปุระเมืองหลวงของอาณาจักรเขมรซึ่งเข้าสู่เมือง พิมายทางด้านทิศใต้จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะ การก่อสร้างบ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะ เริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้า สุริยวรมัน ที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็น แบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะ ที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมี ลักษณะของศิลปะแบบนครวัตซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษ ที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน

ปราสาทหินพิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

1.สะพานนาคราช
เมื่อเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมายจะผ่านส่วนนี้เป็นส่วนแรก จะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าของซุ้มประตูด้านทิศใต้ ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท ทั้งนี้อาจมีจุดมุ่งหมายใน การสร้าง ให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อ ระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่อง จักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ มีลักษณะเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไป ยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ
2.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท
ถัดจากสะพานนาคราชเข้ามาเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมี แนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจาก ตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร
3.พลับพลา
ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เดิม เรียกกันว่า "คลังเงิน" จากตำแหน่งที่ตั้งสันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านาย ชั้นสูง ที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวมทั้งเป็นสถานที่พักจัดขวบนสิ่งของถวายต่างๆ จากการขุดแต่งบริเวณนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ได้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก มีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด เป็นเหตุให้เรียก กันว่า "คลังเงิน"
4.ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตก
มีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่ พระพุทธรูปนาคปรก ที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม
5.ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ระเบียงคด
เมื่อผ่านจากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกไปแล้ว ก็จะถึงซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน กำแพง ชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ ก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดิน มีหลัง คาคลุม อันเป็น ลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และ ความกว้างจาก ตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคา มุงด้วยแผ่นหิน
6.ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
ซุ้มประตูหรือโคปุระ ตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว อยุ่ในแนวตรงกันหมดทั้ง 4 ด้าน คือ ทิศเหนือ-ใต้ อยู่ตรง กึ่งกลางของกำแพง ทิศตะวันออก-ตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อย ผังโดยรอบของซุ้มประตูมีลักษณะเป็นรูป กากบาท จากกำแพงแก้วเข้ามาด้านในเชื่อกันว่าเป็นดินแดนของโลกสวรรค์ อันเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
7.ปรางค์ประธาน
ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาว ทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทราย สีขาว เป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดย มี ฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและ ประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน
8.ปรางค์พรหมทัต
ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูป ประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนาน พื้น เมือง เรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พิมาย
9.ปรางค์หินแดง
ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า
10.หอพราหมณ์
เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับบปรางค์หินแดง ในปี พ.ศ. 2493 ได้ค้นพบ ศิวลึงค์ สลักด้วยหินทรายจำนวน 7 ชิ้นอยู่ภายในหอพราหมณ์ เชื่อกันว่าอาคารหลังนี้คงเป็นสถานที่ประกอบ พิธีทางศาสนาพราหมณ์ แต่จากรูปแบบและตำแหน่งที่ตั้งเดิมคงเป็นที่ตั้ง ของ บรรณาลัยมากกว่า
11.บรรณาลัย
ตั้งอยู่บริเวณลานชั้นนอก ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคด ด้านทิศตะวันตกเป็นอาคาร 2 หลังขนาด เดียวกัน ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูง ก่อด้วยหินทรายกั้นเป็นห้องยาวตลอดแนว พบร่องรอยหลุม เสารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เดิมคงเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เชื่อกันว่าบรรณาลัยคือสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ อันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา

รายละเอียดเพิ่มเติม

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียน จากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ฟรี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4447 1568

การเดินทางไปปราสาทหินพิมาย

1. รถยนต์ส่วนตัว
จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) มุ่งหน้าสู่จังหวัดสระบุรี เมื่อถึงตัวเมืองสระบุรีแยกขวาเข้าทาง หลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ) จากนั้นมุ่งหน้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ขับตรงไปเรื่อยๆ จะผ่านห้าง The Mall ขับตรง ไป จากนั้นจะพบป้ายบอกทางให้ไปขอนแก่น ให้ท่านเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง เมื่อเลี้ยวซ้ายแล้วขับตรงไป พบทางแยกให้เลี้ยวขวาสู่ถนนมิตรภาพ ( ทางหลวงหมายเลข 2 ) จากนั้นขับตรงไป...มุ่งหน้าสู่อำเภอพิมาย ผ่าน ทางเข้าปราสาทหินพนมวัน ซึ่งอยู่ทางด้านขวามือ ขับตรงต่อไปอีกจะผ่านทางเข้าแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท ขับตรงมาเป็นระยะทางประมาณ 51 กิโลเมตร พบแยกไฟแดง เลี้ยวขวาที่แยกนี้ เข้าสู่ถนนหมายเลข 206 จากนั้น ขับตรงไปสู่อำเภอพิมาย จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านขวามือ
2. รถประจำทาง
จากสถานีขนส่งหมอชิตโดยสารรถประจำทาง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมามีทั้งรถโดยสารธรรมดาและ รถปรับอากาศ ตลอด24 ชั่วโมง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง ซึ่งมีรถถึง 4ทุ่ม ทุกวัน
3. รถไฟ
จากสถานีหัวลำโพง โดยสารรถไฟสายกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี หรือ สุรินทร์ ลงที่สถานีนครราชสีมา และต่อรถ โดยสา ประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
4. เครื่องบิน
จากสนามบินดอนเมือง ไปลงที่สนามบิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา และต่อรถโดยสารของ สนามบิน เข้าตัวเมือง และต่อรถโดยสารประจำทางสาย นครราชสีมา-พิมาย-ชุมพวง
 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

 
 
×