HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ประวัติ , หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ & การเดินทางไปจังหวัดตราด

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดตราด

เมืองตราด สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “กราด” ที่เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้ทำไม้กวาด ต้นไม้ชนิดนี้ี้มี ขึ้นอยู่รอบเมืองตราด ซึ่งในสมัยนั้นมีต้นกราดอยู่เป็นจำนวนมาก แต่พอถึงในสมัยกรุงศรีอยุธยารัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมืองตราดมีชื่อในขณะนั้นว่า “บ้านบางพระ” จังหวัดตราด หรือเมืองทุ่งใหญ่ ปรากฏ ชื่อในทำเนียบหัวเมืองสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2178) ว่าเป็นหัวเมืองชายทะเล สังกัดฝ่ายการต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับด้านการคลัง ตราดเป็นหนึ่งในเมืองท่าชายทะเล ที่มีชัยภูมิเหมาะกับการแวะจอดเรือ เพื่อขนถ่าย ซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า เติมเสบียงอาหาร น้ำจืดบริเวณอ่าวเมืองตราด จึงเป็นแหล่งที่ตั้งชุมชนพ่อค้าชาวจีนที่ เดินทางเข้ามาค้าขาย ตราดนับเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง ปลายอยุธยา สินค้าที่ส่งออกขายยังแดนไกล โดยเฉพาะของป่า เช่น เขากวาง หนังสัตว์ ไม้หอม และเครื่องเทศ ต่าง ๆ ล้วนมาจากเขตป่าเขาชายฝั่งทะเลตะวันออก แถบระยอง จันทบุรี ตราด โดยลำเลียงสินค้าผ่านมา ตาม แม่น้ำเขาสมิง ออกสู่ปากอ่าวตรา

เมื่อครั้งสงครามกู้เอกราชสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงเลือกตราดเป็นเมืองหน้าด่านกันชน ทำหน้าที่ส่งเสบียงอาหาร ก่อนเคลื่อนกองทัพเรือออกจากจันทบุรีในสมัยรัชการที่ 1 เมืองตราดยังเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่งเช่น เดียวกับ ในสมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 ไทยทำศึกกับเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันท์ซึ่งต่อมาหันไปสวามิภักดิ์กับญวนไทย กับญวนผิดใจกันจนต้องทำสงครามกันในปี พ.ศ. 2371 ตราดเป็นแหล่งกำลังพล และเสบียงอาหารมีการตั้งป้อม ค่ายอยู่ที่บ้านแหลมหิน ปากอ่าวเมืองตรา สมัยรัชกาลที่ 5 ฝรั่งเศสได้ส่งกองทัพเรือเข้ายึดจันทบุรี ปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) และคืนให้ไทยในปี พ.ศ. 2447 โดยแลกกับเมืองตราดตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูด รวมทั้ง เมืองปัจจันตคีรีเขตร (เกาะกง) ต่อมารัฐบาลไทยเห็นว่าตราดมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ และพลเมืองส่วนใหญ่ เป็นคนไทย ด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสจึงยินยอมทำสัญญา ยกเมืองตราดกับเมืองด่านซ้ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง (เมื่อหันหน้าไปทางปากแม่น้ำ) คืนให้กับไทยโดยแลก เปลี่ยนกับพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2449 โดยฝ่ายไทยมีพระยามหา อำมาตยา ธิบดี ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระยาศรีเทพตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลไทย ฝ่ายฝรั่งเศสมีเมอซิเออร์รูซโซเรซิดังเป็นหัวหน้าผู้แทนรัฐบาลฝรั่งเศสได้กระทำพิธีส่ง และรับมอบกัน
ณ ศาลากลางจังหวัด และฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกไปเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2450

ในช่วงสงคราม อินโดจีน (พ.ศ. 2483-2484) ฝรั่งเศสพยายามเข้ายึดเมืองตราดอีกเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 กองทัพเรือไทยได้เข้าต่อสู้ขัดขวางกองทัพเรือฝรั่งเศสที่ล่วงล้ำน่านน้ำไทยอย่างกล้าหาญ รักษาเมือง ยุทธศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ได้ ปี พ.ศ. 2521 เกิดสงครามสู้รบในกัมพูชา ชาวเขมรนับแสนหนีตาย ทะลักเข้า มาในเขตไทยทางเทือกเขาบรรทัด เขตพรมแดนด้านตะวันออก เส้นทางหลวงหมายเลข 318 จากตัวเมืองตราด เลียบขนานเทือกเขาบรรทัด และชายฝั่งทะเลสู่อำเภอคลองใหญ่เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สายสำคัญ

เมื่อสงครามสงบลงในปี พ.ศ. 2529 เส้นทางสายนี้ได้แปรเปลี่ยนเป็นเส้นทางการค้าระหว่างชายแดนไทย-กัมพูชาบริเวณตลาดหาดเล็ก สุดเขตชายแดนไทย และเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางต่อไปยังเกาะกง การขุดพบ “พลอยแดง” หรือ “ทับทิมสยาม” ในเขตอำเภอบ่อไร่เมื่อปี พ.ศ. 2514 ก่อกระแสการตื่นพลอย ผู้คนจากทั่ว สารทิศหลั่งไหลเข้ามาแสวงโชคที่นี่ความเจริญทุกด้านมุ่งสู่บ่อไร่จนกลายเป็นเมืองใหญ่คู่กับ ตัวเมืองตราด พื้นที่ที่เคยเป็นป่าทึบกลายเป็นหลุมบ่อ เมื่อทรัพย์สินในดินเริ่มหมดไป ในปี พ.ศ. 2534 บ่อไร่กลายเป็นเมืองร้าง เหลือไว้เพียงอาคารร้านค้าซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ
จังหวัดตราด อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 315 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 2,819 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดชายแดน ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย แบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอเขาสมิง อำเภอแหลมงอบ อำเภอคลองใหญ่ อำเภอบ่อไร่ อำเภอเกาะกูด และอำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราดมีอากาศไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป แต่มีฝนตกชุกมาก เพราะมีพื้นที่ติดทะเลและภูเขาโอบล้อม จึงทำให้รับอิทธิพลของลมมรสุม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
ฤดูหนาว เป็นเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงเดือนพ.ย.-ก.พ. อากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน เป็นช่วงระหว่างเดือน มี.ค.-เม.ย. อุณหภูมิโดยเฉลี่ยไม่เกิน 34 องศาเซลเซียส
ฤดูฝนเกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตัวันตกเฉียงใต้พัดผ่านทะเลอ่าวไทย ในช่วงเดือน พ.ค.-ต.ค ของทุกปี ทำให้มีฝนตกชุกในเกือบทุกพื้นที่ โดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้ำฝน 4,000 มม.ต่อปี
 
ททท.สำนักงานตราด (ตราด) อ.แหลมงอบ ตราด โทร. 0 3959 7259-60
สำนักงานจังหวัดตราด โทร. 0 3951 1282
สถานีเดินรถโดยสารประจำทาง โทร. 0 3951 1986
สถานีตำรวจภูธร อำเภอเมือง โทร. 0 3951 1239
สถานีตำรวจภูธร อำเภอคลองใหญ่ โทร. 0 3958 111
สถานีตำรวจภูธร อำเภอแหลมงอบ โทร. 0 3959 7033
สถานีตำรวจภูธร กิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. 0 3958 6191, 0 3958 6250
โรงพยาบาลตราด โทร. 0 3951 1040-1
โรงพยาบาลคลองใหญ่ ทร. 0 3958 1044
โรงพยาบาลแหลมงอบโทร. 0 3959 7040
โรงพยาบาลกรุงเทพฯ-ตราด โทร. 0 3953 2735
โรงพยาบาลกิ่งอำเภอเกาะช้าง โทร. 0 3958 6130
ด่านตรวจคนเข้าเมืองแหลมงอบ โทร. 0 3959 7261
ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองใหญ่ โทร. 0 3958 8108
จุดตรวจด่านชายแดนบ้านหาดเล็ก โทร. 0 3958 8084
สถานีตรวจอากาศ อำเภอคลองใหญ่ โทร. 0 3958 1276
 
 
 

การเดินทางไปจังหวัดตราด

1 โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ 3 เส้นทาง คือ

- ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท) ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา พัทยา อำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จนถึงจังหวัดตราด รวมระยะทางประมาณ 385 กิโลเมตร
- ใช้ทางหลวงหมายเลข 34 (บางนา-บางปะกง) และทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท) จนถึงจังหวัดชลบุรี แล้วแยก เข้าทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) บริเวณกิโลเมตรที่ 98 ผ่านอำเภอบ้านบึง จนถึงอำเภอแกลง จากนั้น แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3 ต่อไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 318 กิโลเมตร
- ใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (กรุงเทพฯ-ชลบุรี หรือมอเตอร์เวย์) ไปจนถึงอำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 344 (ชลบุรี-แกลง) ผ่านอำเภอบ้านบึง จนถึงอำเภอแกลง จากนั้น แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3 ต่อไปจนถึงจังหวัดจันทบุรี รวมระยะทางประมาณ 318 กิโลเมตร

2.โดยรถประจำทาง
มีทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจาก สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ถนนสุขุมวิท รถโดยสารปรับ อากาศ มีรถปรับอากาศ ชั้น 1 (ปอ.1) ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง นอกจากนั้นยังมีบริษัท เดินรถเอกชนที่ วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 2391 2237, 0 2391 4164 สาขาตราด โทร. 0 3951 1062, โชคอนุกูล ทัวร์ โทร. 0 2392 7680 สาขาตราด โทร. 0 3951 1587 และ ศุภรัตน์ ทัวร์ บริการรถ V.I.P.
โทร. 0 2391 2331 สาขาตราด โทร. 0 3951 1481 รถโดยสารธรรมดา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ประชาสัมพันธ์สถานีขนส่งเอกมัย โทร. 0 2391 2504, 0 2391 4164

จาก สถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 มีบริการรถปรับอากาศชั้น 1 ไปจังหวัดตราดทุกวัน (วิ่งเส้นมอเตอร์เวย์ ) สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2537 8055, 0 2936 2852–6

นอกจากนั้นยังมีบริษัทเดินรถเอกชนที่วิ่งบริการ ได้แก่ บริษัท ศุภรัตน์ ทัวร์ โทร. 0 2936 3388 สาขาตราด โทร. 0 3951 1481 บริษัท เชิดชัย ทัวร์ โทร. 0 2936 0199 สาขาตราด โทร. 0 3951 1062

3. โดยเครื่องบิน
บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จำกัด มีเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-ตราด (อยู่ในเขตอำเภอเขาสมิง) ทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และอาทิตย์ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2265 5555, 0 2265 5678 สำนักงานตราด โทร. 0 3952 5767-8, 0 3952 5299 www.bangkokair.com (มีบริการรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสนามบินไปท่าเรือเฟอร์รี่ ที่จะข้ามไปเกาะช้าง)

ในตัวจังหวัดตราดมีรถประเภทต่างๆ ให้บริการ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลาย รูปแบบ และจากสนามบินมีรถตู้ของบริษัทบางกอกแอร์เวย์สบริการส่งถึงที่ต่างๆ ในตัวเมืองมีรถสองแถวเล็กวิ่ง บริการจากสถานีขนส่งและตลาดเทศบาลไปยังที่ต่างๆ ในตัวเมือง และมีรถสองแถววิ่งจากตัวเมืองไปยังแหลมงอบ แหลมศอก เขาสมิง บ่อไร่ แสนตุ้ง ฯลฯ จอดที่บริเวณหลังตลาดเทศบาลและข้างธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกวัน ตั้งแต่เวลาประมาณ 06.00-19.00 น. หลังจากเวลานี้นักท่องเที่ยวจะต้องเช่าเหมาคัน และอาจเหมารถไปเที่ยวได้ ทั้งใน เมืองและต่างอำเภอ คิดราคาขึ้นอยู่กับระยะทางและการต่อรอง รถสามล้อเครื่องและมอเตอร์ไซค์รับจ้าง จอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกัน ตามแต่ระยะ ทางและแบบเหมาจ่าย ที่อำเภอแหลมงอบมีท่าเรือที่มีเรือโดยสารไปยังเกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก และหมู่เกาะ อื่นๆ หลายแห่ง ได้แก่ ท่าเทียบเรือแหลมงอบ ท่าเทียบเรือเกาะช้างเฟอร์รี และท่าเรือเฟอร์รีอ่าวธรรมชาติ และนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือเหมาลำ ซึ่งเป็นเรือประมงดัดแปลงขนาดเล็กจุได้ประมาณ 10 คน ไปเที่ยว ยัง เกาะต่างๆ ได้ ราคาแล้วแต่ตกล มีรถตู้วิ่งจากตัวเมืองตราดไปยังอำเภอคลองใหญ่และบ้านหาดเล็กทุกวัน ตั้งแต่ เวลา 03.00-19.00 น. รถออกจากหน้าโรงหนังศรีตราดดราม่า ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

ระยะทางจากอำเภอเมืองตราดไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอเขาสมิง 16 กิโลเมตร
อำเภอแหลมงอบ 17 กิโลเมตร
อำเภอบ่อไร่ 59 กิโลเมตร
อำเภอคลองใหญ่ 74 กิโลเมตร
อำเภอเกาะช้าง 27 กิโลเมตร
อำเภอเกาะกูด 82 กิโลเมตร
 
 
 
 
 
 
 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

Back
 
 
×