HOME
 
วางแผนท่องเที่ยว ตามปฏิทินเทศกาลประเพณี แต่ละจังหวัด__Click Here!! (Being Update/กำลังเพิ่มข้อมูล)
 
ประวัติ , การเดินทางไปจังหวัดลพบุรี & เบอร์โทรสำคัญ

ประวัติและความเป็นมา

     พื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายสมัย เดิมเรียก ละโว้ นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ มีหลักฐานที่สำคัญคือ พระปรางค์สามยอด (อยู่ในเขตอำเภอเมืองลพบุรี) เป็นศิลปะเขมรสมัยบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 และมีศาลพระกาฬซึ่งเก่าแก่ในสมัยเดียวกัน

     คำว่า "ละโว้" นี้น่าสัณนิษฐานได้ว่ามาจากคำว่า ลวะ นั่นเอง (ลวบุรี กลายมาเป็น ลพบุรี ในทุกวันนี้)[ใครกล่าว?] ซึ่งคำว่า ลวะ ในภาษาสันสกฤตแปลว่า น้ำ[ต้องการอ้างอิง] (ซึ่งอาจหมายความถึงว่าเมืองนี้มีน้ำมาก) เมื่อนำเอามาสมาสกับคำว่า อุทัย (ลว + อุทัย) ก็กลายเป็นลโวทัย (ดังเช่น สุข + อุทัย กลายเป็น สุโขทัย) ซึ่งคำจารึก "ลโวทัยปุระ" ยังพบปรากฏบนเหรียญเงินโบราณที่ขุดค้นได้ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีอีกด้วย[ต้องการอ้างอิง] แต่บ้างก็ว่าคำว่า ละโว้ มาจากภาษามอญซึ่งแปลว่าภูเขา คงเนื่องเพราะเมืองนี้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา[ต้องการอ้างอิง]

     ลพบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ติดต่อกันนานนับแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ปีมาแล้ว จากการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมาก รวมทั้งมีหลักฐานเอกสารและจารึกต่าง ๆ กล่าวถึงเมืองลพบุรีอยู่หลายชิ้นเช่นในพุทธศตวรรษที่ 11-15 มีหลักฐานคือพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงพระยากาฬวรรรณดิศได้ให้พราหมณ์ยกพลมาสร้างเมืองละโว้ตั้งแต่ พ.ศ. 1002 นอกจากนี้ยังมีตำนานชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงการสร้างเมืองหริภุญไชยใน พ.ศ. 1204 ต่อมาอีก 2 ปี คือ พ.ศ. 1206 ได้ส่งทูตล่องลำน้ำปิงไปเมืองลวปุระทูลขอเชื้อสายกษัตริย์ลวปุระให้ไปปกครอง กษัตริย์ลวปุระจึงได้พระราชทานพระนางจามเทวี พระราชธิดา ให้ไปครองเมืองหริภุญไชย ทรงสร้างวัดจามเทวีที่เมืองหริภุญไชย ชื่อเมืองลวปุระในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์เป็นที่ยอมรับว่าคือเมืองลพบุรีในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่าลพบุรีคงเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง แว่นแคว้นอื่นจึงได้ยอมรับและขอเชื้อสายไปปกครอง

     ในระยะราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ละโว้หรือลพบุรีตกอยู่ภายใต้อำนาจทางการของอาณาจักรเขมรเป็นครั้งคราว ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เกิดความอ่อนแอในอาณาจักรเขมร ทำให้รัฐต่าง ๆ ที่เคยอยู่ใต้อำนาจปลีกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งละโว้ด้วย ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ปรากฏหลักฐานว่าเมืองลพบุรีน่าจะเป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยครองราชย์มาก่อนที่จะย้ายไปสถาปนาอาณาจักรอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้เองที่ลพบุรีเจริญรุ่งเรืองที่สุด เพราะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ได้สถาปนาลพบุรีเป็นราชธานีที่สอง หลังแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ลพบุรีก็ขาดความสำคัญลงมากจนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดสถาปนาเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับอีกแห่งหนึ่ง

ตำนานเมือง

     ลิงลพบุรี ที่มีจำนวนมากบริเวณพระปรางค์สามยอด ศาลพระกาฬ และอาคารบ้านเรือนที่อยู่ใกล้เคียง ลพบุรีจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองลิง
เมืองลพบุรีเป็นเมืองเก่ามาตั้งแต่สมัยละโว้ ได้มีตำนานที่กล่าวถึงไว้อยู่มาก และมีชื่อสถานที่ที่ตั้งตามตำนานด้วย

     เมืองลิง เล่ากันว่า จากเรื่อง รามเกียรติ์ สมัยที่พระรามไปรบกับทศกัณฐ์จนชนะแล้ว เนื่องจากการช่วยเหลือหลายครั้งของหนุมาน พระรามจึงคิดจะให้รางวัลกับหนุมาน จึงให้มาดูแลเมืองละโว้ธานี หนุมานก็นำทหารลิงมาด้วยจำนวนหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ที่ลพบุรีมีลิง ซึ่งอาจจะเป็นลูกหลานทหารของหนุมาน และนอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากันอีกว่า ในสมัยก่อนลพบุรีมักถูกไฟไหม้ต่อกันเป็นแนวยาว ๆ เนื่องจากหนุมานได้เหาะมาตรวจเมืองของตนเอง แต่ด้วยความเร็วในการบินที่เร็วมาก และหางอันยาวของหนุมานก็ได้ลากที่พื้นจนเกิดไฟไหม้ดังกล่าว
เรื่องของควายทรพี และทรพา ที่ลพบุรีจะมีภูเขาที่ชื่อว่าเขาทับควาย ซึ่งจะมีแร่เหล็กจำนวนมาก และแร่เหล็กนี้จะทำให้ดินเป็นสีออกแดงคล้ายกับเลือด จึงมีเรื่องเล่ากันมาว่า เมื่อก่อนมีฝูงควายฝูงใหญ่ที่อาศัยอยู่ หัวหน้าฝูงชื่อ ทรพา เป็นควายที่แข็งแรงมาก และควายในฝูงก็จะเป็นตัวเมียเท่านั้น ทรพาจะฆ่าลูกที่เป็นตัวผู้ทิ้งหมด เพื่อกันไม่ให้มาแย่งตำแหน่งหัวหน้าของตน จนมีแม่ควายตัวหนึ่งตกลูก เป็นตัวผู้ แต่กลัวว่าจะถูกฆ่าจึงนำลูกไปซ่อนไว้ และตั้งชื่อลูกว่า ทรพี ให้คล้ายกับชื่อพ่อ ลูกควายรู้ว่าทำไมแม่ต้องซ่อนตนไว้ จึงเกิดความแค้นพ่ออย่างมาก และพยายามวัดเท้าตนกับรอยเท้าของพ่อตลอดมา จนทรพีโตเป็นหนุ่ม พอได้วัดรอยเท้าแล้วเท่ากับพ่อ จึงออกไปท้าสู้กับพ่อ และด้วยความที่ยังหนุ่มกว่า เรี่ยวแรงมากกว่า จึงเอาชนะพ่อที่แก่ชราได้ และฆ่าพ่อตาย ต่อมาทรพีจึงเป็นหัวหน้าฝูงแทนเขาวงพระจันทร์ ดูจาก เขาวงพระจันทร์ขันหมากเจ้ากรุงจีน มีพ่อค้าจีนชื่อ กงจีน หรือ เจ้ากรุงจีน เดินทางมาค้าขายโดยเรือสำเภา พ่อค้าคนนี้ร่ำรวยเป็นเศรษฐี และได้มาพบสาวงามชื่อนางนงประจันทร์ เกิดรักใคร่ขึ้น จึงมาสู่ขอกับพ่อของนาง ตอนที่ขบวนเรือขันหมากแล่นมาใกล้เมืองลพบุรี (ต่อมาสถานที่นั้นกลายเป็นคลองชื่อ คลองบางขันหมาก) เมื่อชายหนุ่มที่เป็นคนรักของนางนงประจันทร์ทราบเรื่อง ก็แปลงกายเป็นจรเข้ตัวใหญ่มากไปขวางขบวนเรือ และทำลายเรือขันหมาก ลูกเรือก็กระโดดน้ำหนี (บริเวณตรงนั้นปัจจุบันกลายเป็นภูเขาเตี้ย ๆ ชื่อเขาจีนโจน) มีลูกเรือบางส่วนขึ้นฝั่งได้ก็พากันมามองหาเรือและตามเก็บของที่ลอยน้ำมา (บริเวณนี้กลายเป็นภูเขาชื่อเขาจีนแล) ส่วนเรือสำเภาที่ล่มกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเภา ข้าวของที่พ่อค้านำมาเป็นสินสอดมีผ้าแพรที่พับไว้อย่างดีซึ่งจมน้ำ ต่อมากลายเป็นภูเขามีลักษณะเป็นชั้น ๆ ชื่อเขาพับผ้า หรือเขาหนีบ ส่วนแก้วแหวนเงินทองงมาจมลงที่เดียวกันกลายเป็นภูเขาชื่อเขาแก้ว มีตะกร้าที่นำมาด้วยจมอยู่กลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะกร้า และมีพวกขนมที่นำมารวมกองกันอยู่กลายเป็นภูเขาที่มีลักษณะคล้ายขนมเข่งขึ้นรา ชื่อเขาขนมบูด ส่วนนางนงประจันทร์ระหว่างรอขบวนขันหมากและเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดตกใจตกลงไปในน้ำ นางจึงจมน้ำตายและกลายเป็นภูเขาชื่อเขานงประจันทร์ หรือเขานางพระจันทร์ (ต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็นเขาวงพระจันทร์ แต่เรื่องนี้เป็นคนละตำนานกับตำนานเขาวงพระจันทร์) สำหรับจรเข้หนุ่มเมื่อล่มเรือขันหมากแล้วเห็นคนรักตกน้ำพยายามจะว่ายไปช่วยแต่หมดแรงก่อนจึงจมน้ำตายกลายเป็นภูเขาชื่อเขาตะเข้ หรือเขาจรเข้

Cr. https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดลพบุรี

การเดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่

1.โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปตามถนนพหลโยธิน เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอพระพุทธบาท เข้าสู่ จังหวัดลพบุรี ระยะทางประมาณ 153 กิโลเมตร 

2.โดยรถประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง

3.โดยรถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยมีบริการรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังจังหวัดลพบุรีทุกวัน 
สามารถสอบถามข้อมูลการเดินทางและราคาตั๋วโดยสารของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทางเว็บไซต์ www.railway.co.th และจองตั๋วรถไฟก่อนวันเดินทาง ไม่น้อย กว่า 3 วัน ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2220-4444 ทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น.

4.รถตู้ 
มีรถตู้สายกรุงเทพฯ-ลพบุรี ออกจากกรุงเทพฯ ทุกวัน คิวรถตู้ที่จะไปลพบุรีมี 2 คิว คือ
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าโรงพยาบาลราชวิถี ปลายทางหน้าสถานีรถไฟลพบุรี
- อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณใต้ทางด่วน ฝั่งที่จะไปสะพานควาย ปลายทางพระปรางค์สามยอด

Cr. https://www.paiduaykan.com/province/central/lopburi/transporation.html
ในตัวเมืองลพบุรีมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือก ใช้บริการ ยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งลพบุรี โทร.0 3641 1888

นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยว เช่น เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และไปยังอำเภอต่างๆ ของจังหวัดลพบุรี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคิวรถจะอยู่ในสถานีขนส่ง

ระยะทางจากอำเภอเมืองลพบุรีไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอท่าวุ้ง            15     กิโลเมตร
อำเภอบ้านหมี่         32     กิโลเมตร
อำเภอโคกสำโรง     35     กิโลเมตร
อำเภอพัฒนานิคม    51     กิโลเมตร
อำเภอหนองม่วง      54     กิโลเมตร
อำเภอสระโบสถ์      65     กิโลเมตร
อำเภอโคกเจริญ      77     กิโลเมตร
อำเภอท่าหลวง       83     กิโลเมตร
อำเภอชัยบาดาล     97     กิโลเมตร
อำเภอลำสนธิ        120    กิโลเมตร

Cr. https://www.paiduaykan.com/province/central/lopburi/transporation.html

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ


 ตำรวจทางหลวง โทร.036-411622
 ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข โทร.036-411011
 ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี โทร.036-420333
 ป่าไม้จังหวัดลพบุรี โทร.036-422777
 โรงพยาบาลลพบุรี ถ.พหลโยธิน โทร.036-422777
 ศาลากลางจังหวัดลพบุรี โทร.036-411500
 สถานีขนส่งลพบุรี โทร.036-411888
 สถานีตำรวจอำเภอเมืองลพบุรี โทร.036-411013,036-421189
 สถานีรถไฟ โทร.036-411022
 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 7 (ลพบุรี) โทร. 03642 2768-9,03642 408

Cr. https://fernlopburi.weebly.com/36273617363436183648362135863650360736193624363336143607366036073637365636263635358836333597.html


 

สถานที่ท่องเที่ยว 77 จังหวัด          12 เดือน ดาว 9 ตะวัน 

 

  

Krabi-Your Dream Holiday        View Finder-เกาะพีพี                          

    

               The Most Beautiful Island in Thailand

                                                

 
 
×